หน้าแรก / บริการอื่นๆ / ผ้าดิสก์เบรกที่มีคุณภาพ และการเลือกผ้าเบรคให้เหมาะกับรถคุณ
บริการอื่นๆ
ผ้าดิสก์เบรกที่มีคุณภาพ และการเลือกผ้าเบรคให้เหมาะกับรถคุณ

ผ้าดิสก์เบรก 

อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับรถยนต์เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำหน้าที่ชะลอความเร็ว และหยุดรถ และในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันอาจมีฝนตกลงมาในช่วงที่คุณจำเป็นต้องใช้รถใช้ถนน ยิ่งฝนตกสภาพพื้นผิวถนนจะยิ่งลื่นและมีความอันตรายมากขึ้น การใช้ผ้าดิสก์เบรกที่มีคุณภาพดีจะช่วยให้เกิดความมั่นใจทุกครั้งที่เหยียบเบรก และก่อนที่เราจะพาคุณไปรู้จักกับผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์ เราอยากให้คุณได้รู้จักวิวัฒนาการและประเภทของผ้าดิสก์เบรกก่อนว่ามีที่มาอย่างไร

 

 

ในยุคแรกของสูตรการผลิตผ้าดิสก์เบรกจะเป็นสูตรที่ประกอบไปด้วยแร่ใยหิน(Asbestos Formulation) เป็นองค์ประกอบหลักในยุคต่อมาประมาณปี ค.ศ.1980 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำใยเหล็กมาทดแทนแร่ใยหินในสูตรการผลิตผ้าดิสก์เบรก Semi Metallic Formulation จนทำให้ผ้าดิสก์เบรกถูกผลิตออกมาหลายประเภทเช่น

 

-ผ้าดิสก์เบรกสูตร Low Metallic Formulation พบได้ทั่วไปในรถค่ายยุโรปต่างๆ เช่น BMW, Mercedes Benz, Volvo เป็นต้น
-ผ้าดิสก์เบรกสูตร NAO(Non-Asbestos Organic) หรือ Ceramic Formulation ซึ่งมีจุดเด่นคือความนุ่มเงียบขณะเบรกและมีอัตราการกินจานเบรกที่ต่ำ
-ผ้าดิสก์เบรกสูตร High Carbon เป็นผ้าดิสก์เบรกที่ผลิตใช้เฉพาะการแข่งขันเท่านั้น โดยมีจุดเด่นคือการทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากๆ
-ผ้าดิสก์เบรกที่มีสูตรการผลิตแบบที่มีส่วนผสมของทองแดงไม่เกิน 5%(Low-Copper Formulation) และ สูตรการผลิตที่ไม่มีส่วนผสมของทองแดง(Copper-Free Formulation)

 

เห็นชนิดต่างๆ ของผ้าดิสก์เบรกแล้วคุณอาจเกิดความสงสัยว่ารถยนต์ของคุณจะเหมาะกับผ้าดิสก์เบรกแบบไหน วิธีเลือกผ้าเบรกให้เหมาะกับรถของคุณก่อนอื่นต้องสอบถามลักษณะในการขับขี่รถยนต์ของผู้ขับขี่(ขับขี่ด้วยความเร็งสูงและมีการใช้เบรกบ่อยที่ความเร็วสูง,ขับขี่แบบปกติเป็นต้น)สภาพภูมิประเทศในการขับขี่เช่น การขับขี่ในเมืองรถติด, ขับขี่ระหว่างเมืองใช้ความเร็วหรือการขับขี่แบบขึ้นเขาลงเขา), ในกรณีที่ใช้รถกระบะ(น้ำหนักในการบรรทุกซึ่งจะมีผลต่ออายุการใช้งานของผ้าดิสก์เบรกหรือการที่ไม่บรรทุกของขณะขับขี่)ซึ่งโดยปกติผ้าดิสก์เบรกทั่วไปจะมีแค่สูตรเดียวในกล่องเดียวกัน แต่ผลิตภัณฑ์ผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์ในกล่องเดียวจะมีอยู่ 2 สูตรซึ่งแบ่งตามลักษณะการใช้งานของรถในแต่ละประเภทโดยแบ่งกลุ่มคือ

  1. รถกระบะ, รถกระบะกึ่งเอนกประสงค์(PPV)และรถตู้โดยสาร
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถยนต์เอนกประสงค์(MPV) และรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูง(SUV)

 

ดังนั้นการเลือกใช้ ผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์จะเป็นคำตอบสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในบ้านเราเนื่องจากได้มีการแบ่งสูตรตามลักษณะการใช้งานของรถส่วนใหญ่ในประเทศไทย

อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับรถยนต์ย่อมมีการสึกหรอเมื่อมีการใช้งานตามระยะเวลาซึ่งผ้าดิสก์เบรก ก็หนีไม่พ้นกฏข้อนี้ไปได้เช่นเดียวกับอุปกรณ์และอะไหล่ชนิดอื่นในรถยนต์ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกที่ใช้อยู่ อายุการใช้งานของผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์

 

เราควรเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกเมื่อไหร่ ?

 

การประเมินอายุการใช้งานของผ้าดิสก์เบรก โดยปกตินั้นจะประเมินได้ค่อนข้างยากเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งาน เช่น ลักษณะในการขับขี่, น้ำหนักในการบรรทุก, ลักษณะภูมิประเทศในการขับขี่รวมไปถึงความสมบูรณ์ของระบบเบรกในส่วนอื่นๆ เช่น จานเบรก, ชุดคาลิปเปอร์, ลูกสูบและแกนสไลด์ เป็นต้น

 

ผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์

มีอายุการใช้งานประมาณ 40,000 กิโลเมตรในลักษณะการใช้งานปกติและมีความสมบูรณ์ของระบบเบรกในส่วนอื่นๆตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นสำหรับทั้ง 2 สูตรการผลิตคือ สูตรการผลิตแบบที่มีส่วนผสมของทองแดงไม่เกิน 5เปอร์เซ็นต์ตามน้ำหนัก(Low-Copper Formulation)และ สูตรการผลิตที่ไม่มีส่วนผสมของทองแดง(Copper-Free Formulation)

 

โดยปกติเราจะต้องเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกตอนที่ผ้าดิสก์เบรกเหลืออยู่ประมาณ 2-4 มิลลิเมตรสำหรับรถค่ายญี่ปุ่นในรุ่นใหม่ๆจะมีตัวเตือนผ้าดิสก์เบรกหมดหรือที่เรียกว่า Wear Sensor เมื่อใช้งานไปถึงตัวเตือนซึ่งผ้าดิสก์เบรกจะเหลืออยู่ประมาณ 2-4 มิลลิเมตรตัวเตือนจะไปเสียดสีกับจานเบรกทำให้เกิดเสียงดังเพื่อเตือนว่าผ้าดิสก์เบรกควรเปลี่ยนชุดใหม่แล้ว ส่วนในรถค่ายยุโรปจะมีสัญญานเตือนที่หน้าปัดเป็นสัญลักษณ์สำหรับให้เปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกชุดใหม่

 

นอกจากนี้ยังมีวิธีสังเกตอาการของผ้าดิสก์เบรคหมดได้ดังนี้
1.มีอาการเบรกต่ำ เมื่อเหยียบเบรคแล้วรู้สึกได่ว่าแป้นเหยียบจะลึกลงกว่าปกติ
2.มีไฟเตือนโชว์ที่หน้าปัดไมล์
3.หากรถบรรทุกของหนักเป็นประจำควรเปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกทุกๆ 25,000 กม.
4.เปลี่ยนผ้าดิสก์เบรกทันทีเมื่อเห็นรอยร้าวที่ดิสก์เบรก หรือก้ามเบรก รวมถึงหากพบว่าผ้าเบรกมีคราบน้ำมันหรือจารบีมากผิดปกติ

 

ความแตกต่างของผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์กับผ้าดิสก์เบรกทั่วไป

1.สูตรการผลิตแบบที่มีส่วนผสมของทองแดงไม่เกิน 5%(Low-Copper Formulation)และสูตรการผลิตที่ไม่มีส่วนผสมของทองแดง(Copper-Free Formulation) ซึ่งเป็นสูตรผ้าดิสก์เบรกสำหรับโลกอนาคตในขณะที่ผ้าดิสก์เบรกทั่วไปจะใช้สูตรการผลิตแบบ Semi Metallic, Low Metallic และ NAO(Non-Asbestos Organic) หรือ Ceramic


2.ผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์จะมีสารที่เคลือบที่ผิวหน้าผ้าเบรกแบ่งเป็น 2 สี คือ


2.1. สีส้มสำหรับสูตรการผลิตแบบที่มีส่วนผสมของทองแดงไม่เกิน 5%(Low-Copper Formulation) สำหรับรถกระบะ, รถกระบะกึ่งเอนกประสงค์(PPV) และรถตู้โดยสาร


2.2.สีฟ้าสำหรับสูตรการผลิตที่ไม่มีส่วนผสมของทองแดง(Copper-Free Formulation) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถยนต์เอนกประสงค์(MPV) และรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูง(SUV)


      ซึ่งสารที่เคลือบที่ผิวหน้าของดิสก์เบรกเพื่อทำให้มีประสิทธิภาพของการเบรกสูงสุดตั้งแต่ครั้งแรกหลังจากเปลี่ยนดิสก์เบรกชุดใหม่ สำหรับขจัดปัญหาเรื่องเฟดจากการที่หน้าสัมผัสของผ้าดิสก์เบรกชุดใหม่กับจานเบรกที่ยังสัมผัสกันไม่สนิท, ทำความสะอาดและเคลือบผิวจานเบรกให้พร้อมใช้งานกับผ้าดิสก์เบรกชุดใหม่


3. จุดเด่นของสูตรการผลิตที่แตกต่างจากผ้าดิสก์เบรกทั่วไป
3.1. สูตรการผลิตแบบที่มีส่วนผสมของทองแดงไม่เกิน5%(Low-Copper Formulation)เป็นสูตรที่มีประสิทธิภาพในการเบรกสูงและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าผ้าดิสก์เบรกทั่วไป


3.2. สูตรการผลิตที่ไม่มีส่วนผสมของทองแดง(Copper-Free Formulation) เป็นสูตรที่มีจุดเด่นสำหรับเรื่องอัตราการเกิดเสียงและฝุ่นที่ต่ำกว่าผ้าดิสก์เบรกทั่วไป รวมไปถึงอัตราการกินจานเบรกที่อุณหภูมิต่ำที่ดีกว่าผ้าดิสก์เบรกทั่วไป

 

 

     ประสิทธิภาพของผ้าดิสก์เบรกคอมแพ็คนาโนแม็กซ์จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับจานดิสก์เบรกคอมแพ็คที่ออกแบบส่วนผสมของเนื้อเหล็กหล่อให้มีค่า Carbon Equivalent (%CE) ที่สูงกว่าจานดิสก์เบรกทั่วไปในท้องตลาดซึ่งส่งผลทำให้มีอายุการใช้งานของจานดิสก์เบรกที่เพิ่มขึ้น, จานดิสก์เบรกมีการทนความร้อนและการระบายความร้อนได้ดีกว่า, มีค่าความแข็งของจานดิสก์เบรกที่เหมาะสมทำให้มีอัตราการเกิดเสียงและสั่นที่ต่ำกว่าจานดิสก์เบรกทั่วไปและอายุการใช้งานของผ้าดิสก์เบรกที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการใช้คู่กับจานดิสก์เบรกทั่วไป...

ขอบคุณที่มา : MThai