หน้าแรก / บริการอื่นๆ / เมื่อรายได้ทางเดียวจากอาชีพหลักไม่พอ สำรวจปัญหาเบื้องหลังการทำงานเสริม สามารถใช้ชีวิตได้คล่องกว่าจริงหรือ ?
บริการอื่นๆ
เมื่อรายได้ทางเดียวจากอาชีพหลักไม่พอ สำรวจปัญหาเบื้องหลังการทำงานเสริม สามารถใช้ชีวิตได้คล่องกว่าจริงหรือ ?

เมื่อรายได้ทางเดียวจากอาชีพหลักไม่พอ สำรวจปัญหาเบื้องหลังการทำงานเสริม สามารถใช้ชีวิตได้คล่องกว่าจริงหรือ ?

         ในปีปัจจุบันหลายบริษัทในประเทศไทยให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทั้งธุรกิจหน้าร้าน และ ธุรกิจที่ทำผ่านโลกออนไลน์ ทำให้มีงานมากมายหลายอาชีพเกิดใหม่ โดยที่เราไม่ต้องยื่นใบสมัครอีกต่อไป เลยทำให้ ‘อาชีพเสริม’ ฟังดูเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายมากขึ้นสำหรับบุคคลที่มองหารายได้เสริมจากงานประจำ

 

        แม้บางคนจะมีพลังเหลือล้นในการควบทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน เพราะมีแพทชั่นในการทำงานเพิ่ม เพื่ออยากเสริมทักษะของตนเองก็เป็นไปได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนจำนวนมากยอมแลก ‘เวลาพักผ่อน’ กับ ‘การทำงานเสริม’ เหล่านี้ด้วย ‘ความจำเป็น’ เนื่องจากรายได้น้อยกว่ารายจ่าย เพราะแค่งานประจำที่กินเวลา 1 ใน 3 ของวันก็เหนื่อยมากพอแล้ว ดังนั้นการมีงานที่ 2 3 4นอกเหนือจากงานประจำที่มีอยู่ จึงทำให้สะท้อนเห็นปัญหาบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมด้วยเช่นกัน

 

เงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้น แต่รายได้จากงานประจำยังไม่ขยับไปไหน ในบางที่ได้รับเพียงค่าแรงขั้นต่ำหรือต่ำกว่า

         เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2565

ที่ระบุว่า ค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าจ้างแท้จริง (Real Wages: มูลค่า/อำนาจการซื้อของค่าจ้างนั้น) กลับหดตัว นั่นหมายความว่า แม้รายได้ของเราจะเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มไม่ทันค่าใช้จ่ายที่วิ่งแซงไปไกลอยู่ดี แล้วคนที่เจอปัญหานี้ไม่ได้มีจำนวนน้อยๆ

        คนที่มีเพียงรายได้ขั้นต่ำ ก็อาจจะกังวลเรื่องการชักหน้าไม่ถึงหลัง หรือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หนี้สิน หรือ ความรับผิดชอบต่างๆ รวมถึงการสร้างครอบครัวด้วย ส่วนคนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่ายในปัจจุบัน ก็ยังต้องกังวลเรื่องการเก็บออมเพื่ออนาคต โดยเฉพาะเงินออมสำหรับช่วงวัยเกษียณ เพราะเงินที่เก็บในวันนี้ อาจมีค่าน้อยลงในวันข้างหน้า แถมรัฐสวัสดิการก็ไม่ได้ครอบคลุมจนเรารู้สึกสบายใจได้ หลายคนเลยสร้างความมั่นคงให้ชีวิตผ่านการทำงานเสริมนั่นเอง

 

       ส่วนการได้ใช้ชีวิตแบบพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องที่ต้อง ‘ใช้เงิน’ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี แหล่งเรียนรู้  พื้นที่สำหรับเสพงานศิลปะ ค่าจอดรถสวนสาธารณะ รวมทั้งค่าตั๋วหนัง และราคาหนังสือที่แพงเกิน หรือหากจะมีสุขภาพที่ดี การเข้าฟิตเนตหรือการทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน รวมกับปัญหาเงินเฟ้อก็ยิ่งทำให้หลายคนรู้สึกว่า… “ต้องหาเงินให้มากกว่านี้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่”

 

และเลี่ยงไม่ได้ว่า ความเจริญจะอยู่ในเมืองหลวง หลากหลายงานรวมตัวอยู่ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ หลายคนเลยต้องจากบ้านมาทำงานในเมือง  สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันที่สูงขึ้น บางคนต้องทนทำงานที่ไม่ได้อยากทำ หรืองานเงินเดือนไม่สมเหตุสมผล แล้วทำงานอื่นๆ เสริม เพราะมีทางเลือกไม่มากนัก ส่วนคนต่างจังหวัดที่ไม่ได้มีบ้านอยู่ กทม. ก็มีโอกาสที่ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และอีกสารพัดค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าการอยู่บ้านกับครอบครัว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เลยเป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนเลือกทำงานเสริม เพราะช่วยให้มีรายได้เพียงพอมากกว่า

 

อีกหนึ่งเรื่องที่เป็นปัจจัยในการทำงานเสริม คือ ‘ความฝัน’

สำหรับบางคนที่ต้องไขว่คว้าด้วยการทำงานเสริม เพราะไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ทันที แต่ต้องใช้หนี้ให้หมด เก็บเงินให้พอก่อน บ้างก็อาจจะเป็นเรื่องการเรียนต่อ การมีทุนและเวลาให้ได้ไปค้นหาตัวเอง การได้ออกไปเที่ยวที่ที่อยากไป ได้ทำอะไรที่อยากทำ หรือแม้กระทั่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนที่เรารัก เช่น ประกันสุขภาพของพ่อแม่ การศึกษาที่ดีของลูกๆ บางคนเลยต้องทำงานอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทำงานประจำ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีทางออกที่น่าพิจารณา

 

แม้บางคนจะมีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย แต่กลับไม่เพียงพอสำหรับ ‘การใช้ชีวิต’ หรือมี ‘คุณภาพชีวิตที่ดี’ ภาพที่เห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องอากาศดีๆ ที่ไม่มี PM 2.5 เราก็ยังต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อเครื่องกรองอากาศมาไว้ในบ้าน หรือ การเดินทางไปทำงานที่หลายๆ คนยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อเวลา ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย (ที่ควรจะหาได้จากขนส่งสาธารณะ)

เพราะถ้ารอรถเมล์ก็ต้องเสียเวลาลุ้นว่าจะมาเมื่อไร จะไปถึงตอนไหน หรือกังวลยังวิ่งได้ปกติไหมเพราะสภาพรถบางคันเหมือนจะไปไม่ถึง  แต่ถ้าจะขยับไปนั่งรถไฟฟ้า นอกจากจะจ่ายแพงแล้วยังต้องไปยืนเบียดกันในชั่วโมงเร่งรีบอีกต่างหาก  หรือการที่จะมีรถยนต์ส่วนตัวก็จะต้องมีค่าดาวน์ ค่าผ่อนรถ พอมีรถยนต์ก็จะต้องมี ค่าน้ำมัน ค่าทางพิเศษ หรือ ค่าประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมเข้ามาอีก หากรถเสียก็จะต้องมีค่าซ่อมรถที่เพิ่มเติมเข้ามา แต่ยุคสมัยนี้โชคดีที่มีประกันอะไหล่รถยนต์ AsiaCare Warranty ที่แบ่งเบาค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ โดยที่การเข้าซ่อมก็มีมาตราฐาน โดยซ่อมจากศูนย์บริการชั้นนำได้อะไหล้แท้ ไม่ต้องไปเสี่ยงเข้าอู่ให้ได้อะไหล่ลอมและกลับมาพังซ้ำ 

 

        อย่างไรก็ตาม การพูดถึงปัญหาเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าการทำงานเสริมเป็นเรื่องไม่ดี หรือไม่ควรเกิดขึ้นเลย เพียงแต่งานเสริม ควรจะเป็น ‘ทางเลือก’ มากกว่า ‘ความจำเป็น’ เพราะถ้าเป็นทางเลือก การทำงานเสริม อาจหมายถึงการมีแรงผลักดันให้พัฒนาตัวเอง หรือออกไปทำสิ่งใหม่ๆ แต่เมื่อไรที่กลายเป็น “ความจำเป็น” นั่นอาจเป็นสัญญาณของการที่เราควบคุมค่าใช้จ่ายยังไม่ดีพอ เราอาจจะเพียงแก้ไขที่ตนเอง โดยการจัดสรรค่าใช้จ่ายดีๆเพื่อการใช้ชีวิตแบบไม่กระทบเงินของเรามากนั่นเอง